แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance[3] กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี
โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551[4]
ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication
รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน
รุ่น | ชื่อเล่น | ลินุกซ์ เคอร์เนล | เปิดตัว |
---|---|---|---|
1.0 | 5 พฤศจิกายน 2550 | ||
1.1 | 9 กุมภาพันธ์ 2552 | ||
1.5 | Cupcake (คัพเค้ก) | 2.6.27 | 30 เมษายน 2552[6] |
1.6 | Donut (โดนัท) | 2.6.29 | 15 สิงหาคม 2552 (SDK) |
2.0/2.1 | Eclair (เอแคลร์) | 2.6.29 | 26 ตุลาคม 2552 (2.0)[7] 12 มกราคม 2553 (2.1 SDK)[8] |
2.2 | Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) | 2.6.32[9] | 20 พฤษภาคม 2553 (SDK) |
2.3 | Gingerbread (ขนมปังขิง) | 2.6.35[10] | 6 ธันวาคม 2553 (SDK) |
3.0/3.1 | Honeycomb (รังผึ้ง) | 2.6.36[11] | 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK) |
4.0 | Ice Cream Sandwich(แซนด์วิชไอศกรีม) | [12] | 19 ตุลาคม 2554 (SDK) |
แอนดรอยด์มาร์เก็ต
แอนดรอยด์มาร์เก็ต (Android Market) เป็นร้านซอฟต์แวร์ออนไลน์ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดยกูเกิล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงมาร์เก็ตได้ผ่านซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า "Market" ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยในมาร์เก็ตจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักคือ แอ๊ป (Apps) และ เกม (Games)แอ๊ปที่อยู่ในมาร์เก็ตจะมีทั้งแอ๊ปที่แจกให้ดาวน์โหลดฟรี และแอ๊ปที่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ โดยการซื้อขายนั้นผู้ขายจะได้รายได้ 70% จากราคาเต็ม[13] โดยในปัจจุบันจะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่สามารถซื้อแอ๊ปได้ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ฮอลแลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา[14] ส่วนแอ๊ปฟรีนั้นสามารถดาวน์โหลดได้ทุกประเทศ เว้นแต่ว่าแอ๊ปบางตัวที่ทางผู้ผลิตจำกัดประเทศของผู้ดาวน์โหลด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น